วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณา ๕ ส่วน๑. กรอบแนวคิด ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควร โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจ พอเพียงสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับ โดยเน้น ทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน๓. คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้
๑) ความพอประมาณ หมาย ถึง ความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
๒) ความมี เหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล
๓) การมี ภูมิคุ้มกันในตัว หมายถึง การเตรียม ตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
๔) เงื่อนไข ๒ เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม (แนวคิด ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข) ๑) เงื่อนไขความ รู้ คือ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการ เพื่อนำมาประกอบการวางแผน ๒) เงื่อนไข คุณธรรม เพื่อเสริมสร้างให้มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์
๕) แนวทางปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความรู้เทคโนโลยีกระบวน การสร้างความรู้ (Knowledge) คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ในเอกสารประกอบการอบรมเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว) ได้ให้ข้อแนะนำในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

ด้านเศรษฐกิจ ๑. รู้จักควบคุมใช้จ่ายของตนเอง ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล, ใช้จ่ายพอประมาณ ใช้จ่ายอย่างประหยัด ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ฯลฯ ๒.รู้จักออมเงิน เรียนรู้ระบบการฝากเงิน เรียนรู้ระบบออมเงิน เรียนรู้ระบบสหกรณ์ ๓. รู้จักสร้างรายได้หรืออาชีพ สร้างรายได้หรืออาชีพสอดคล้องกับความต้องการ สอดคล้องกับสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรท้องถิ่น ฯลฯด้านสังคม รู้จักช่วย เหลือสังคมหรือชุมชน ปลุกจิตสำนึกสาธารณะ ปลูกฝัง ความสามัคคี ความเสียสละ เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

ด้านสิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลของ ทรัพยากรธรรมชาติ ปลุกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น ฯลฯ

ด้านวัฒนธรรม สืบสานวัฒนธรรม ไทย สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด ฟื้นฟูและ อนุรักษ์อาหารท้องถิ่น ดนตรีไทยและเพลงไทย โบราณสถานและโบราณวัตถุ

ด้านศาสนา ส่ง เสริมศาสนา ปลูกฝังจิตสำนึกความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ฯลฯ
แนว การจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่มสาระ
๑. ภาษาไทย สามารถแนวแนวปรัชญามา ฝึกเขียนเรียงความ, คัดลายมือพระราชดำรัสเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๒. คณิตศาสตร์ ฝึกการค้าขาย ฝึกการทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่าง ๆ บัญชีต้นทุน กำไร การออม เงิน
๓. วิทยาศาสตร์ สามารถจัดกิจกรรม เกี่ยวกับความพอเพียงในการใช้ทรัพยากร การสร้างสมดุลของธรรมชาติ
๔. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม การช่วยเหลือชุมชน คุณธรรม ๘ ประการของกระทรวงศึกษาธิการ การสร้างจิตสำนึกใน การรักษ์ท้องถิ่น
๕. การงานอาชีพและเทคโนโลยี การ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างจิตสำนึกการใช้เทคโนโลยีอย่าง ประหยัด การประดิษฐ์สิ่งของ ของเล่นจากเศษวัสดุ นำไปจำหน่าย
๖.ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ การสร้างสรรค์งานศิลปะ จากเศษวัสดุ
๗. สุขศึกษาและพลศึกษา การสร้างภูมิคุ้มกัน ในตัวเองด้วยการออกกำลังกาย การเล่นการละเล่นแบบไทย ๆ
๘. ภาษาต่างประเทศ การเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับ ความพอเพียง การเขียนเรื่องการกล่าวสุนทรพจน์ (Pulic Speed) เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)
การจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยังสามารถจัดในลักษณะบูรณาการ หรือทำโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ สอดแทรกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย เช่น โครงงานค้า ขายได้ความรู้สู่ความพอเพียง โดยฝึกการค้าขายสินค้าและ บันทึกรายรับรายจ่าย ต้นทุนกำไร และบูรณาการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาชี้ถึงแนวการ ดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ซึ่ง นักเรียนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง***